เครื่องแบบข้าราชการ

เครื่องแบบลูกจ้างประจำ

เครื่องแบบพนักงานราชการ

 

 

 

 

 

 

 

ฝ่ายประเมินผลการปฏิบัติงานและบำเหน็จความชอบ

 

 

 

เครื่องแบบข้าราชการพลเรือน

ประเภทเครื่องแบบ
กฎสำนักนายกรัฐมนตรี
ฉบับที่ 94 (พ.ศ. 2553)
เครื่องหมาย



1. เครื่องแบบพิธีการ
    » เครื่องแบบเต็มยศ
    » เครื่องแบบครึ่งยศ

 

    » เครื่องแบบสโมสร(แบบ ก  แบบ ข  แบบ ค)
    » เครื่องแบบปกติขาว
    » เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง

2. เครื่องแบบปฏิบัติงาน
    » เครื่องแบบสีกากีคอพับ
    » เครื่องแบบสีกากีคอแบะ
 
      1. เครื่องหมายประกอบเครื่องแบบพิธีการ
          1.1 หมวกและหน้าหมวก
          1.2 อินทรธนู
          1.3 กระดุมเสื้อ
          1.4 เครื่องหมายสังกัด
          1.5 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญที่ระลึก หรือแพรแถมย่อ

      2. เครื่องหมายประกอบเครื่องแบบปฏิบัติงาน
          2.1 หมวกและหน้าหมวก
          2.2 อินทรธนู
          2.3 เครื่องหมายสังกัด
          2.4 แพรแถมย่อ

เครื่องแบบเจ้าหน้าที่ของรัฐ

up

 

 
เครื่องแบบพิธีการ
 

เครื่องแบบเต็มยศ



1. เสื้อขาว กางเกงดำ รองเท้าหุ้มส้น และถุงเท้าดำ (ชาย)
    เสื้อขาว กระโปรงดำ รองเท้าหุ้มส้นดำ (หญิง)
2. อินทรธนู
3. กระดุมกลมรูปครุฑ
4. เครื่องหมายสังกัดที่คอทั้ง 2 ข้าง
5. เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามหมายกำหนดการหรือตามกำหนดนัดหมายของทางราชการ
  - สวมสายสะพาย (กรณีได้รับพระราชทาน)
  - ตรงตรา (ห้อยกับสายสะพาย)
  - ดารา (ประดับบริเวณใต้ชายปกกระเป๋า ลดหลั่นกันตามลำดับเกียรติ)
  - แพรแถบเหรียญราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญที่ระลึกต่างๆ (ประดับเหนือปกกระเป๋าเสื้อเบื้องซ้าย โดยให้ตัวเหรียญอยู่ระหว่างขอบบนปกกระเป๋าพองาม (ชาย) หรือที่หน้าบ่าเสื้อเบื้องซ้าย (หญิง) )

เครื่องแบบครึ่งยศ


1. เสื้อขาว กางเกงดำ รองเท้าหุ้มส้น และถุงเท้าดำ
    เสื้อขาว กระโปรงดำ รองเท้าหุ้มส้นดำ (หญิง)
2. อินทรธนู
3. กระดุมกลมรูปครุฑ
4. เครื่องหมายสังกัดที่คอทั้ง 2 ข้าง
5. เครื่องราชอิสริยาภรณ

ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามหมายกำหนดการ หรือตามกำหนดนัดหมายของทางราชการ
  - ตรงตรา
  - ดารา
  - แพรแถบเหรียญราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญที่ระลึกต่างๆ
(ประดับลักษณะเดียวกับเครื่องแบบเต็มยศ)

  - ไม่ต้องสวมสายสะพาย (กรณีได้รับพระราชทาน)

เครื่องแบบสโมสร ก


  • เครื่องแบบลักษณะเดียวกับ เครื่องแบบเต็มยศ

เครื่องแบบสโมสร ข




   1. เสื้อสโมสรสีขาวเปิดอก ปาดเอว ดุมโลหะที่ข้อมือข้างละ 3 เม็ด ที่ระหว่างอกกับเอวข้างละ 3 เม็ด สวมเสื้อกั๊กสีขาว และเสื้ื้อเชิ๊ตสีขาวอกแข็ง ข้อมือแข็ง คอเชื๊ตชั้นเดียว และปีกผีเสื้อ ผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนหูกระต่าย ในฤดูร้อนให้ใช้กางเกงสีขาวแทนกางเกงสีดำ
  2. เครื่องราชอิสริยาภรณ์


ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ควรประดับดวงตรา ดาราชั้นสูงสุดดวงเดียว)
  - สวมสายสะพาย (กรณีได้รับพระราชทาน) ทับเสื้อตัวใน
  - ตรงตรา (ห้อยกับสายสะพาย หรือคล้องคอสำหรับดวงตราชั้นที่ ๒ และ ๓ หรือประดับที่ปกเสื้อตัวนอก สำหรับดวงตราชั้นที่ ๔ และ ๕ ของทุกตระกูลโดยย่อส่วน 1 ใน 3 ของเหรียญ
  - ดารา (ประดับบริเวณอกเสื้อตัวนอกเบื้องซ้าย)
  - เหรียญราชอิสริยาภรณ์ (ประดับที่ปกเสื้อตัวนอกข้างซ้ายใต้เครื่องหมายสังกัดโดยย่อส่วน 1 ใน 3 ของเหรียญ เช่นเดียวกับดวงตราชั้นที่ ๔ และ ๕ )

เครื่องแบบสโมสร ค


  1. ลักษณะเดียวกับ เครื่องแบบสโมสร แบบ ข  ต่างกันที่เสื้อเชิ๊ตอกอ่อนสีขาว เสื้อกั๊กสีขาว ใช้ผ้าแพรสีเดียวกับกางเกงรัดเอวแทน ผ้าแพรมีขนาดกว้าง 12 เซนติเมตร ที่ปลายทั้ง 2 ข้างเรียว กว้าง 11 เชนติเมตร ที่ปลายมีขอเกี่ยวติดกันในขณะคาดทางด้านหลัง
  2. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เช่นเดียวกับเครื่องแบบสโมสร ข

เครื่องแบบปกติขาว
  (ประดับแพรแถบย่อ)


1. เสื้อขาว กางเกงขาว รองเท้าหุ้มส้น และถุงเท้าดำ
    เสื้อขาว กระโปรงดำ รองเท้าหุ้มส้นดำ (หญิง)
2. อินทรธนู
3. กระดุมกลมรูปครุฑ
4. เครื่องหมายสังกัดที่คอทั้ง 2 ข้าง
5. แพรแถมย่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน และเหรียญอิสริยาภรณ์ที่บริเวณอกเสื้อเหนือกระเป๋าด้านซ้าย (ชาย) หรือที่อกเสื้อด้านซ้าย (หญิง)
  + กรณีแต่งเครื่องแบบปกติขาวไว้ทุกข์ ให้สวมปลอกแขนสีดำที่แขนเสื้อข้างซ้าย

เครื่องแบบปกติขาว
(ประดับเหรียญราชอิสริยาภรณ์)




1. เสื้อขาว กางเกงขาว รองเท้าหุ้มส้น และถุงเท้าดำ
    เสื้อขาว กระโปรงดำ รองเท้าหุ้มส้นดำ (หญิง)
2. อินทรธนู
3. กระดุมกลมรูปครุฑ
4. เครื่องหมายสังกัดที่คอทั้ง 2 ข้าง
5. เหรียญราชอิสริยาภรณ์ (ไม่ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์)

ประดับเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน และเหรียญที่ระลึกต่างๆ เหนือปกกระเป๋าเสื้อเบื้องซ้าย โดยให้ตัวเหรียญอยู่ระหว่างขอบบนปกกระเป๋าพองาม (ชาย) หรือที่หน้าบ่าเสื้อเบื้องซ้าย (หญิง)
  + เฉพาะในโอกาสพิเศษ

เครื่องแบบข้าราชการบำนาญ


เครื่องแบบพิธีการต่างๆ มี ลักษณะเดียวกับ เครื่องแบบข้าราชการประจำ แต่ต่างกันที่ประดับเครื่องหมายสังกัดที่คอเสื้อด้านหน้าข้างซ้าย และเครื่องหมายอักษร "นก" (นอกราชการ) ที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างขวา

 

 
เครื่องแบบปฏิบัติงาน
 

เครื่องแบบสีกากีคอพับ
1. เสื้อสีกากีคอพับ แขนยาวหรือสั้น มีกระเป๋าติดหน้าอกข้างละ 1 ใบ มีแถบอยู่ตรงกลางตามแนวดิ่ง ใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลม ตัวเสื้อผ่าอกตลอด ติดกระดุมตามแนวอกเสื้อ 6 เม็ด (รวมคอเสื้อ)ไม่มีจีบด้านหลัง (หญิงใช้โดยอนุโลม)
2. กางเกงสีกากี ไม่พับปลายขา กระเป๋าข้างตรง มีจีบหน้าหรือไม่ก็ได้ / กระโปรงสีกากียาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อยไม่มีตะเข็บ ห้ามมีจีบรอบ ห้ามผ่า ห้ามปลายบานเป็นสุ่ม หรือตัดปลายยามครึ่งน่อง
3. ชาย รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ ทำด้วยหนัง สีดำสีน้ำตาล ไม่มีลวดลาย ถุงเท้าสีีดำ / หญิง รองเท้าหุ้มส้นปลายปิดหรือรัดส้นปิดปลายเท้า ทำด้วยหนัง สีดำสีน้ำตาล ไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน 10 ซม.
4. ประดับแพรแถบย่อ เหนือกระเป๋าด้านซ้าย
5. ติดป้ายชื่อเหนือกระเป๋าด้านขวา
6. ติดเครื่องหมายสังกัดหน่วยงานที่คอเสื้อทั้ง 2 ข้าง
7. เข็มขัดถัดสีกากี หัวเข็มเป็นโลหะสีทองรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า
เครื่องแบบสีกากีคอแบะ

 

 
เครื่องหมายประกอบเครื่องแบบพิธีการ
 

หมวกและหน้าหมวก - ข้าราชการชาย
ข้าราชการชาย ให้ใช้หมวกทรงหม้อตาลสีขาวะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางสีทองกว้าง 1 เซนติเมตรีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง 5 เซนติเมตร
บนหมอนสักหลาดสีขาว
- ข้าราชการหญิง ให้ใช้หมวกได้ 2 แบบ
แบบที่ 1 อนุโลมตามแบบหมวกของข้าราชการชาย แต่เป็นทรงอ่อน
แบบที่ 2 หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีขาว สายรัดคางสีทอง มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง 4.5 เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีขาว
-----ข้าราชการหญิงมุสลิม หากจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ ให้ใช้ผ้าคลุมศีรษะสีดำ โดยให้คลุม ศีรษะทั้งหมดเว้นใบหน้า ชายผ้าคลุมศีรษะสอดไว้ในปกเสื้อคอพับทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ในกรณีที่มีการสวมหมวกให้สวมหมวกทับผ้าคลุมศีรษะ
-----การสวมหมวกให้สวมในโอกาสอันควร”


 

อินทรธนู

-----อินทรธนูแข็ง กว้าง 4 เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่าพื้นสักหลาดสีดำ ติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ้านคอปลายมนติดดุมโลหะสีทอง
ตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก

ลักษณะอินทรธนูแข็ง 4 แบบ ( หญิงจะมีขนาดย่อมกว่า)


 
1  ประเภททั่วไป ระัดับปฏิบัิติงาน     - แถบสีทองกว้าง 1 ซม. เป็นขอบ  และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ มี 2 ดอก เรียงตามส่วนยาวของอิทนธนู ไม่เกินครึ่งหนึ่งของอินทรธนู (ชั้นโทเดิม)
                 

2  ประเภททั่วไป ระัดับชำนาญงาน
   ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
- แถบสีทองกว้าง 1 ซม. เป็นขอบ  และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ มี 3 ดอก เรียงตามส่วนยาวของอิทนธนู ไม่เกิน 3 ใน 4 ส่วนของอินทรธนู (ชั้นเอกเดิม)
3  ประเภททั่วไป ระัดับอาวุโส 
    ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ                       และ ระดับชำนาญการพิเศษ
    ประเภทอำนวยการ ระดับต้น
- แถบสีทองกว้าง 5 มม. เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ยาวตลอดส่วนกลาง
ของ อิทนธนู (ชั้นพิเศษเดิม)
4  ประเภททั่วไป ระัดับทักษะพิเศษ 
    ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ                             และ ระดับทรงคุณวุฒิ
    ประเภทอำนวยการ ระดับสูง              ประเภทบริหาร ระดับต้น ระดับสูง
 - แถบสีทองกว้าง 5 มม. เป็นขอบ  และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ยาวตลอดส่วนกลาง
ของอิทนธนู และให้มีแถบสีทองกว้าง 5 มม.ปิดที่ฐานด้านล่างของอินทรธน ู(ใหม่)

กระดุมเสื้อ
      -  โลหะกลมสีทองมีรูปครุฑ 5 เม็ด (ชาย) หรือ 3 เม็ด (หญิง)

เครื่องหมายสังกัด       -  โลหะสีทองเป็นรูปตามที่ส่วนราชการกำหนด (กระทรวงสาธารณสุข)

เครื่องหมายข้าราชการ
นอกประจำการ
      -  โลหะสีทองเป็นรูปตามที่ส่วนราชการกำหนด (กระทรวงสาธารณสุข)

เครื่องราชอิสริยาภรณ
เหรียญราชอิสริยาภรณ์
เหรียญที่ระลึก
แพรแถมย่อ

   รายละเอียดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แบ่งได้ดังนี้
 

    5.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
------------ ไม่ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์กับชุดปกติขาว เว้นแต่กำหนดนัดหมายของทางราชการระบุไว้เป็นอย่างอื่น

 

 

    5.2 เหรียญที่ระลึก
------------ กรณีหมายกำหนดการหรือกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุให้แต่งกายปกติิขาวประดับเหรียญ ให้ประดับเหรียญราชอิสริยาภรณ์และเหรียญที่ระลึก ไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชุดปกติขาว และแพรแถบ

 

 

    5.3 แพรแถบย่อ
        -  เป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้าขนาดเล็ก มีสีตามแพรแถมของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญอิสริยาภรณ์ และเหรียญที่ระลึกต่างๆ ์โดยจะมีเครื่องหมายชั้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ติดอยู่บนแพรแถบ ไม่มีพลาสติกหุ้ม  ใช้ประดับแทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญอิสริยาภรณ์และเหรียญที่ระลึกต่างๆ ในโอกาสแต่งเครื่องแบบปกติขาว และเครื่องแบบปฏิบัติงานอื่นๆ
        - ประดับที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย

 

 
เครื่องหมายประกอบเครื่องแบบปฏิบัติงาน
 

หมวกและหน้าหมวก - ข้าราชการชาย ให้ใช้หมวกได้ 2 แบบ
แบบที่ 1 หมวกทรงหม้อตาลสีกากี กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ
สายรัดคางหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม
ผ้าพันหมวกสีกากี หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ในบัวกระหนกทำด้วยโลหะสีทอง สูง 6.5 เซนติเมตร
แบบที่ 2 หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีกากี หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทอง
สูง 4.5 เซนติเมตร
ข้าราชการหญิง ให้ใช้หมวกได้ 3 แบบ
แบบที่ 1 อนุโลมตามแบบหมวกของข้าราชการชาย แต่เป็นทรงอ่อน
แบบที่ 2 หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีกากี สายรัดคางสีทองกว้าง 1 เซนติเมตร
มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีกากี หน้าหมวก
ติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง 4.5 เซนติเมตร บนหมอนสีกากี
แบบที่ 3 หมวกหนีบสีกากี ด้านหน้ามีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ขนาดเล็ก 2 ดุม ติดซ้อนกัน มีตราครุฑพ่าห์ในบัวกระหนกสูง 4.5 เซนติเมตร ติดที่ด้านซ้ายเหนือขอบหมวก ห่างจากมุมพับด้านหน้าหมวกประมาณ 4 เซนติเมตร
-----ข้าราชการหญิงมุสลิม หากจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ ให้ใช้ผ้าคลุมศีรษะสีประเภทสีกากี หรือสีกลมกลืนกับเสื้อ กระโปรง หรือกางเกง โดยให้คลุมศีรษะทั้งหมดเว้นใบหน้า ชายผ้าคลุมศีรษะ ด้านข้างยาวถึงบ่า ด้านหน้ายาวถึงระดับหน้าอก ขอบผ้าคลุมเย็บเรียบ ในกรณีที่มีการสวมหมวก
ให้สวมหมวกทับผ้าคลุมศีรษะ
-----การสวมหมวกให้สวมในโอกาสอันควร”
อินทรธนู

 

ลักษณะอินทรธนูอ่อน 4 แบบ ( หญิงจะมีขนาดย่อมกว่า)

 
   1 ข้าราชการประเภททั่วไป ระัดับปฏิบัิติงาน
   -  แถบสีทองกว้าง 1 ซม. 2 แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 ซม. (ชั้นโทเดิม)
   2 ข้าราชการประเภททั่วไป ระัดับชำนาญงาน และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
   -  แถบสีทองกว้าง 1 ซม. 3 แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 ซม. (ชั้นเอกเดิม)
   3 ข้าราชการประเภททั่วไป ระัดับอาวุโส  ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และประเภทตำแหน่งอำนวยการ ระดับต้น
ู    -  แถบสีทองกว้าง 3 ซม. ติดทางต้นอินทรธนู 1 แถบ และแถบกว้าง 1 ซม. ติดเรียงต่อไปอีก 1 แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 ซม.(ชั้นพิเศษเดิม)
   4 ข้าราชการประเภททั่วไป ระัดับทักษะพิเศษ  ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ระดับทรงคุณวุฒิ และประเภทตำแหน่งอำนวยการ ระดับสูง และตำแหน่งบริหาร ระดับต้น ระดับสูง
   -  แถบสีทองกว้าง 3 ซม. ติดทางต้นอินทรธนู 1 แถบ และแถบกว้าง 1 ซม. ติดเรียงต่อไปอีก 1 แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 ซม. และ บนกึ่งกลางแถบกว้าง 3 ซม.ให้ติดเครื่องหมายครุฑพ่าห์ทำด้วยโลหะสีทองสูง 2.5 ซม. (รูปแบบใหม่)
เครื่องหมายสังกัด    - โลหะสีทองเป็นรูปตามที่ส่วนราชการกำหนด (กระทรวงสาธารณสุข)

ป้ายชื่อและตำแหน่ง

- ป้ายชื่อพื้นสีดำ ขนาดกว้างไม่เกิน 2.5 ซม. ยาวไม่เกิน 7.5 ซม. แสดงชื่อ สุกล และตำแหน่งในการบริหาร หรือชื่อตำแหน่งในสายงานตาม ที่กำหนด
- ประดับที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนขวา

 
แพรแถมย่อ   -  เป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้าขนาดเล็ก มีสีตามแพรแถมของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญอิสริยาภรณ์ และเหรียญที่ระลึกต่างๆ ์โดยจะมีเครื่องหมายชั้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ติดอยู่บนแพรแถบ ไม่หุ้มพลาสติก  ใช้ประดับแทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญอิสริยาภรณ์และเหรียญที่ระลึกต่างๆ ในโอกาสแต่งเครื่องแบบปกติขาว และเครื่องแบบปฏิบัติงานอื่นๆ
-- ประดับที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย
เข็มขัด ข้าราชการชาย  

- เข็มขัดทำด้วยด้ายถักสีกากี กว้าง 3 ซม. หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผื้นผ้าทางนอน ปลายมนกว้าง 3.5 ซม. ยาว 5 ซม. มีรูปครุฑดุนนูนอยู่กึ่งกลางหัวเข็มขัด ไม่มีเข็มสำหรับสอดรู ปลายเข็มขัดหุ้มด้วยโลหะสีทอง กว่้าง 1 ซม.

ข้าราชการหญิง

- ใช้เข็มขัด 2 แบบ
--------1. ใช้เข็มขัดอนุโลมตามข้าราชการชาย โดยคาดทับขอบกระโปรง
--------2. ใช้เข็มขัดผ้าประเภทสีสีกากี สีเดียวกับเสื้อ กว้าง 2.5 ซม. หัวสีเหลี่ยมหุ้มผ้า


 

รองเท้า ถุงเท้า

  

ข้าราชการชาย  

- ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อหนังหรือวัตถุเทียมหนังสึดำ หรือสีน้ำตาล ไม่มีลวดลาย ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า

ข้าราชการหญิง

- ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือรัดส้น หรือวัตถุเทียมหนังสึดำ หรือสีน้ำตาล แบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน 10 ซม.

กลับด้านบน
กลับด้านบน

 

เครื่องแบบลูกจ้างประจำ

ระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบลูกจ้างประจำ พ.ศ.2527

 

1. เครื่องแบบปฏิบัติงาน


อินทรธนู (ชุดปฏิบัติงาน) : กรณีที่ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการระดับ 2 ขึ้นไป

2.  เครื่องแบบพิธีการ 3 ประเภท
------------เครื่องแบบปกติขาว
------------เครื่องแบบครึ่งยศ
------------เครื่องแบบเต็มยศ


อินทรธนู (ชุดพิธีการ) : กรณีที่ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป

 

เครื่องแบบพนักงานราชการ

 

1. เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการให้ใช้เครื่องแบบพิธีการในลักษณะอย่างเดีียวกับลูกจ้างประจำ

2.  อินทรธนูประดับเครื่องแบบพิธีการ ให้ใช้ดอกพิกุลสีทอง ประดับบนอินทรธนูพื้นสีดำ ดังรูป

2 ดอก สำหรับพนักงานราชการ แบบทั่วไป

3 ดอก สำหรับพนักงานราชการ แบบพิเศษ